เอนไซม์ เอนไซม์อาหาร เอนไซม์ในอาหาร เอนไซม์อุตสาหกรรม (Enzyme , Food Enzyme , Industrial Enzyme)
เอนไซม์ (Enzyme)
(จำหน่ายขนาดบรรจุ 1 กก และ 25 กก)
เอนไซม์ กับ คน มีความเกี่ยวข้องกันในชีวิตประจำวันมาตั้งแต่อดีตนานมาแล้ว ในอดีตคนไม่เข้าใจถึงหน้าที่และคุณสมบัติของเอนไซม์ จนกระทั่งในยุคศตวรรษที่ 19 นักวิทยาศาสตร์ทำการศึกษา เกี่ยวกับเอนไซม์มากขึ้น และเริ่มเข้าใจถึงผลของเอนไซม์ที่มีต่อกระบวนการหมัก เอนไซม์เป็นโปรตีน ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วในการนำเอนไซม์มาประยุกต์ใช้เป็นสารเร่งปฏิกริยาในกระบวนการต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกสิ่งมีชีวิต เพื่อประโยชน์ในการดำรงชีวิตของมนุษย์ในด้านต่างๆ เช่น อาหาร เครื่องดื่ม เภสัชภัณฑ์ และเครื่องนุ่งห่ม รวมทั้งการนำมาใช้ทดแทนเพื่อประโยชน์ด้านการรักษาโรค
เอนไซม์ (Enzyme) คือ สารประกอบอินทรีย์โปรตีน ที่มีหน้าที่เป็น คาตาลิสต์ (Catalyst) ที่ช่วยเร่งปฏิกริยาให้เกิดเร็วขึ้น
สิ่งมีชีวิตที่เป็นแหล่งของเอนไซม์ ได้แก่ พืช สัตว์ และจุลินทรีย์ ซึ่งเอนไซม์เหล่านี้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ เช่น
1) ใช้ในกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพที่ดี ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค เช่น คุณค่าทางด้านโภชนาการ กลิ่นรส และเนื้อสัมผัส อุตสาหกรรมที่นำเอนไซม์ไปใช้ ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ อุตสาหกรรมสารซักฟอก อุตสาหกรรมฟอกหนัง อุตสาหกรรมสิ่งทอ โดยพบว่าอุตสาหกรรมอาหารเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้เอนไซม์มากที่สุด อันดับ1 ส่วนอันดับ 2 คือ อุตสาหกรรมสารซักฟอก
2) ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ยาหรือเภสัชภัณฑ์ เนื่องจากเภสัชภัณฑ์บางชนิดที่ผลิตโดยการเพาะเลี้ยงเซลล์แล้วนำมาสกัดให้ได้สารที่มีคุณสมบัติตามต้องการต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการที่ค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับการนำเอนไซม์ใช้ในกระบวนการผลิต จะช่วยลดค่าใช้จ่ายและขั้นตอนได้
3) ใช้ในการตรวจวิเคราะห์ การตรวจวินิจฉัยและการรักษาโรค เช่น การใช้คอเลสเตอรอลเอสเทอเรส (Cholesterol esterase) ในการตรวจวัดหา ระดับคอเลสเตอรอลในเลือด
เอนไซม์ที่มาจากพืช เช่น
Enzyme Name | Source | Application |
ยูรีเอส (Urease) | ถั่วพร้า | ตรวจวินิจฉัย |
ปาเปน (Papain) | มะละกอ | ขนมอบ และการฟอกหนัง |
โปรมีเลน (Bromelain) | สับปะรด | ขนมอบ |
เพอร์ออกซิเดส (Peroxidase) | ฮอร์สแรดิช (Horseradish) | ตรวจวินิจฉัย |
บีตา-แอมีเลส (β-amylase) | ข้าวบาร์เลย์ ถั่วเหลือง | ขนมอบ |
เอนไซม์ที่มาจากสัตว์ เช่น
Enzyme Name | Source | Application |
เรนนิน (Rennin) หรือ
ไคโมซิน (Chymosin) |
ลูกวัว | เนยแข็ง |
เพปซินและทริปซิน | ลูกวัว ลูกแกะ | การผลิตเจละติน โปรตีน
ไฮโดรไลเสต และ เพปโทน |
ไลโซไซม์ (Lysozyme) | ไข่ไก่ | การทำลายผนังเซลล์
แบคทีเรีย |
เอนไซม์ที่มาจากจุลินทรีย์ เช่น
Enzyme Name | Source | Application |
แอมีเลส (Amylases) | Aspergillus spp.,
Bacillus spp. |
ขนมอบ การทอผ้า
สารซักฟอก |
โพรทีเอส (Pectinases) | Aspergillus spp.,
Bacillus spp. |
สารซักฟอก |
การนำเอนไซม์มาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ (Enzyme Application)
เอนไซม์ สำหรับผลิตอาหาร (Food Enzyme) ในอุตสาหกรรมอาหาร มี ดังนี้
มีขนาดบรรจุ 1 กก , 25 กก ได้แก่
1. Alpha Amylase (เอนไซม์ อัลฟ่าอะมัยเลส) ใช้ย่อยแป้ง ในโรงงานเบเกอรี่
เอนไซม์ สำหรับผลิตอาหารสัตว์ (Feed Enzyme) ที่ใช้ในอุตสาหกรรม มี ดังนี้
1. Phytase (เอนไซม์ ไฟเตส) ใช้ย่อยสลายไฟเตส ทำให้มีการปลดปล่อยฟอสฟอรัสที่มีประโยชน์ออกมา
2. Xylanase (เอนไซม์ ไซลาเนส) ช่วยส่งเสริมการย่อยไซแลสในการย่อยอาหารสัตว์
3. Beta Glucanase (เอนไซม์ เบต้า กลูคาเนส) ช่วยส่งเสริมการย่อยในการย่อยอาหารสัตว์
เอนไซม์ สำหรับผลิตสิ่งทอ (Textile Enzyme) ที่ใช้ในอุตสาหกรรม มี ดังนี้
1. Cellulase (เอนไซม์ เซลลูเลส) ช่วยย่อยเซลลูโลสในผ้ายีนส์ ทำให้นุ่มขึ้น
2. Amylase (เอนไซม์ อะมัลเลส) ช่วย desizing ลอกแป้งออก
3. Pectate Lyase (เอนไซม์ เพกเทตไลเอส) ช่วยทำความสะอาดเส้นใน หรือ scouring
4. Catalase (เอนไซม์ คาตาเลส) ช่วยฟอกขาว
5. Laccase (เอนไซม์ แล็กเคส) ช่วยฟอกขาว
6. Peroxidase (เอนไซม์ เพอร์ออกซิเดส) ช่วยกำจัดสีส่วนเกิน
เอนไซม์ สำหรับผลิตเครื่องหนัง (Leather Enzyme) ที่ใช้ในอุตสาหกรรม มี ดังนี้
เอนไซม์ สำหรับผลิตกระดาษ (Pulp and Paper Enzyme) ที่ใช้ในอุตสาหกรรม มี ดังนี้
2. Protease (เอนไซม์ โปรตีเอส) ช่วยกำจัดคราบหรือแผ่นฟิล์มชีวภาพ
3. Amylase (เอนไซม์ อะมัยเลส) ช่วยด้านการเคลือบแป้ง การกำจัดหมึก (deinking) และ ช่วยทำให้รีดน้ำออกจากกระดาษง่ายขึ้น
4. Xylanase (เอนไซม์ ไซลาเนส) ช่วยฟอกขาวกระดาษ
5. Cellulase (เอนไซม์ เซลลูเลส) ช่วยกำจัดหมึกพิมพ์ ช่วยทำให้รีดน้ำออกจากกระดาษง่ายขึ้น และ ช่วยการปรับสภาพเส้นใย
เอนไซม์ สำหรับผลิตสารซักฟอก (Detergent Enzyme) ที่ใช้ในอุตสาหกรรม มี ดังนี้
2. Amylase (เอนไซม์ อะมัลเลส) ช่วยกำจัดคราบแป้ง
3. Lypase (เอนไซม์ ไลเปส) ช่วยกำจัดคราบไขมัน
4. Cellulase (เอนไซม์ เซลลูเลส) ช่วยรักษาสีผ้า ช่วยป้องกันไม่ให้สารซักฟอกตกตะกอนระหว่างการซัก
5. Mannanase (เอนไซม์ แมนนาเนส) ช่วยกำจัดคราบแมนนาเนน
เอนไซม์ สำหรับผลิตเอทานอล (Ethanol Enzyme) ที่ใช้ในอุตสาหกรรม มี ดังนี้
2. Glucoamylase (เอนไซม์ กลูโคอะมัลเลส) ช่วยย่อยกลูโคสไปเป็นฟรักโตส
3. Amyloglucosidase (เอนไซม์ แอมีโลกลูโคซิเดส) ใช้ในขั้นตอน แซ็กคาริฟิเคชั่น
4. Pullulanase (เอนไซม์ พูลลูลาเนส) ใช้ในขั้นตอน แซ็กคาริฟิเคชั่น