สารเคมีอาหาร เคมีอาหาร วัตถุเจือปนอาหาร สารเติมแต่งอาหาร สารปรุงแต่งอาหาร วัตถุดิบอาหารเสริม Food Additives

สารเคมีอาหาร เคมีอาหาร วัตถุเจือปนอาหาร สารเติมแต่งอาหาร สารปรุงแต่งอาหาร วัตถุดิบอาหารเสริม Food Additives

สารเคมีอาหาร  เคมีอาหาร วัตถุเจือปนอาหาร สารเติมแต่งอาหาร สารปรุงแต่งอาหาร (Food Additive)

(จำหน่ายขนาดบรรจุ 1 กก และ 25 กก)

 

คณะกรรมาธิการพิจารณาร่างมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ สาขาวัตถุเจือปนอาหารและสารปนเปื้อน  ( Codex Committee on Food Additives and Contaminants ; CCFAC , 1972 )  และ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้คำจำกัดความว่า

“ วัตถุเจือปนอาหาร ”  หมายถึง     สารใด ๆ ซึ่งปกติมิได้ใช้เป็นอาหารหรือเป็นส่วนประกอบหลักของอาหาร    อาจมีคุณค่าทางโภชนาการ หรือไม่ก็ได้    เป็นสารที่ตั้งใจเติมลงในอาหาร เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านเทคโนโลยีการผลิต การเตรียมวัตถุดิบ และ การแปรรูป การบรรจุ การขนส่ง การเก็บรักษาอาหาร และ มีผลหรืออาจมีผลทางตรงหรือทางอ้อม ทำให้สารนั้นหรือผลิตผลพลอยได้ของสารนั้นกลายเป็นส่วนประกอบของอาหารนั้น หรือ มีผลต่อคุณลักษณะของอาหารนั้น    แต่ไม่รวมถึง สารปนเปื้อน  หรือ สารที่เติมลงไปเพื่อปรับปรุงคุณค่าทางอาหารของอาหาร โดยที่การใชัวัตถุเจือปนอาหารต้องมิได้มีเจตนาหลอกลวงผู้บริโภค หรือปิดบังการใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพไม่ดี หรือการผลิตที่มีการสุขาภิบาลไม่ถูกต้องและต้องไม่ทำให้คุณค่าทางอาหารลดลงด้วย

คุณสมบัติทั่ว ๆ ไปของวัตถุเจือปนอาหาร ได้แก่  ไม่เป็นพิษ  ใช้จำนวนเล็กน้อยก็ได้ผล  ไม่ทำให้สี กลิ่น รส ลักษณะของอาหารเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เสื่อมคุณภาพ  และ  ต้องเป็นชนิดที่ผ่านการทดสอบและอนุญาตให้ใช้เติมลงในอาหารได้        

ทำไมจึงต้องใช้วัตถุเจือปนอาหาร        

ปัจจัยสำคัญในการดำรงชีพของคนเราไม่ว่ายุคสมัยใด ก็ยังคงเป็นอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค และที่อยู่อาศัย เช่นเดิม เพียงแต่มีการพัฒนาปัจจัยต่าง ๆ ให้ก้าวหน้าทันสมัย อำนวยความสะดวก ความสุขและความพอใจให้มนุษย์เรามากขึ้น ในเรื่องอาหารก็เช่นเดียวกัน ระยะแรกก็กินอาหารพืช ผัก ตามธรรมชาติ ต่อมาก็มีการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์เป็นอาหาร และพัฒนาเรื่อยมา รู้จักการเก็บถนอมอาหารไว้บริโภคในยามขาดแคลน หรือบริโภคนอกฤดูกาล ประกอบกับวิถีชีวิตอันเร่งรีบในสังคมเมือง และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอาหาร ทำให้มีการผลิตอาหารสำเร็จรูป กึ่งสำเร็จรูป อาหารพร้อมบริโภค การใช้วัตเจือปนอาหารก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ผลิตอาหารได้ตามความต้องการ

วัตถุประสงค์ในการใช้วัตถุเจือปนอาหารมีหลายประการ  ได้แก่        

1. เพื่อเก็บถนอมหรือยืดอายุการเก็บของอาหารไว้ ตัวอย่างเช่นในระยะที่มีผลผลิตทางการเกษตรมากเกินไปในฤดู โดยเฉพาะประเทศไทยมีอุณหภูมิและความชื้นค่อนข้างสูง ซึ่งเป็นสภาวะเร่งการเสียของอาหาร เนื่องจากปฏิกิริยาทางเคมีและจุลินทรีย์ จึงจำเป็นต้องใช้วัตถุเจือปนอาหารเพื่อป้องกันการเสื่อมคุณภาพของอาหาร        
2. เพื่อปรุงแต่งลักษณะสี กลิ่น รส ให้มีคุณสมบัติตามที่ต้องการ        
3. เพื่อช่วยในกระบวนการผลิต เช่น การใช้วัตถุป้องกันการเกิดฟองที่มากเกินไปในกระบวนการผลิต น้ำมันพืช น้ำเชื่อมเข้มข้น เป็นต้น        
4. เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารชนิดใหม่ ๆ ขึ้นมา ทำให้มีอาหารหลากหลายชนิด  เป็นต้น

วัตถุเจือปนอาหารมีหลายชนิด ดังนี้ :

 

1. สีผสมอาหารธรรมชาติและสีสังเคราะห์
2. กลิ่นผสมอาหาร
3. สารกันบูดจากธรรมชาติ
4. สารให้ความหวานจากธรรมชาติ
5. สารกันการจับตัวเป็นก้อน
6. สารกันฟอง
7. สารกันหืน
8. สารให้ความข้นหนืด
9. สารกันการตกตะกอน
10. สารให้ความเย็น
11. Maltodextrin
12. ผงฟู
13. กรดซิตริก
14. Propylene Glycol
15. เอนไซม์
16. คอลลาเจน
17. วิตามิน
18. กรดอะมิโน  และ อื่นๆ

 

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart

ไม่มีสินค้าในตะกร้า