สารเคมีอาหาร เคมีอาหาร วัตถุเจือปนอาหาร สารเติมแต่งอาหาร สารปรุงแต่งอาหาร วัตถุดิบอาหารเสริม Food Additives
สารเคมีอาหาร เคมีอาหาร วัตถุเจือปนอาหาร สารเติมแต่งอาหาร สารปรุงแต่งอาหาร (Food Additive)
(จำหน่ายขนาดบรรจุ 1 กก และ 25 กก)
คณะกรรมาธิการพิจารณาร่างมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ สาขาวัตถุเจือปนอาหารและสารปนเปื้อน ( Codex Committee on Food Additives and Contaminants ; CCFAC , 1972 ) และ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้คำจำกัดความว่า
“ วัตถุเจือปนอาหาร ” หมายถึง สารใด ๆ ซึ่งปกติมิได้ใช้เป็นอาหารหรือเป็นส่วนประกอบหลักของอาหาร อาจมีคุณค่าทางโภชนาการ หรือไม่ก็ได้ เป็นสารที่ตั้งใจเติมลงในอาหาร เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านเทคโนโลยีการผลิต การเตรียมวัตถุดิบ และ การแปรรูป การบรรจุ การขนส่ง การเก็บรักษาอาหาร และ มีผลหรืออาจมีผลทางตรงหรือทางอ้อม ทำให้สารนั้นหรือผลิตผลพลอยได้ของสารนั้นกลายเป็นส่วนประกอบของอาหารนั้น หรือ มีผลต่อคุณลักษณะของอาหารนั้น แต่ไม่รวมถึง สารปนเปื้อน หรือ สารที่เติมลงไปเพื่อปรับปรุงคุณค่าทางอาหารของอาหาร โดยที่การใชัวัตถุเจือปนอาหารต้องมิได้มีเจตนาหลอกลวงผู้บริโภค หรือปิดบังการใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพไม่ดี หรือการผลิตที่มีการสุขาภิบาลไม่ถูกต้องและต้องไม่ทำให้คุณค่าทางอาหารลดลงด้วย
คุณสมบัติทั่ว ๆ ไปของวัตถุเจือปนอาหาร ได้แก่ ไม่เป็นพิษ ใช้จำนวนเล็กน้อยก็ได้ผล ไม่ทำให้สี กลิ่น รส ลักษณะของอาหารเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เสื่อมคุณภาพ และ ต้องเป็นชนิดที่ผ่านการทดสอบและอนุญาตให้ใช้เติมลงในอาหารได้
ทำไมจึงต้องใช้วัตถุเจือปนอาหาร
ปัจจัยสำคัญในการดำรงชีพของคนเราไม่ว่ายุคสมัยใด ก็ยังคงเป็นอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค และที่อยู่อาศัย เช่นเดิม เพียงแต่มีการพัฒนาปัจจัยต่าง ๆ ให้ก้าวหน้าทันสมัย อำนวยความสะดวก ความสุขและความพอใจให้มนุษย์เรามากขึ้น ในเรื่องอาหารก็เช่นเดียวกัน ระยะแรกก็กินอาหารพืช ผัก ตามธรรมชาติ ต่อมาก็มีการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์เป็นอาหาร และพัฒนาเรื่อยมา รู้จักการเก็บถนอมอาหารไว้บริโภคในยามขาดแคลน หรือบริโภคนอกฤดูกาล ประกอบกับวิถีชีวิตอันเร่งรีบในสังคมเมือง และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอาหาร ทำให้มีการผลิตอาหารสำเร็จรูป กึ่งสำเร็จรูป อาหารพร้อมบริโภค การใช้วัตเจือปนอาหารก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ผลิตอาหารได้ตามความต้องการ
วัตถุประสงค์ในการใช้วัตถุเจือปนอาหารมีหลายประการ ได้แก่
1. เพื่อเก็บถนอมหรือยืดอายุการเก็บของอาหารไว้ ตัวอย่างเช่นในระยะที่มีผลผลิตทางการเกษตรมากเกินไปในฤดู โดยเฉพาะประเทศไทยมีอุณหภูมิและความชื้นค่อนข้างสูง ซึ่งเป็นสภาวะเร่งการเสียของอาหาร เนื่องจากปฏิกิริยาทางเคมีและจุลินทรีย์ จึงจำเป็นต้องใช้วัตถุเจือปนอาหารเพื่อป้องกันการเสื่อมคุณภาพของอาหาร
2. เพื่อปรุงแต่งลักษณะสี กลิ่น รส ให้มีคุณสมบัติตามที่ต้องการ
3. เพื่อช่วยในกระบวนการผลิต เช่น การใช้วัตถุป้องกันการเกิดฟองที่มากเกินไปในกระบวนการผลิต น้ำมันพืช น้ำเชื่อมเข้มข้น เป็นต้น
4. เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารชนิดใหม่ ๆ ขึ้นมา ทำให้มีอาหารหลากหลายชนิด เป็นต้น
วัตถุเจือปนอาหารมีหลายชนิด ดังนี้ :